วิธีคิดเปอร์เซ็นต์

หนึ่งในหลักสูตรคณิตศาสตร์ที่นำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ก็คือ “การคิดเปอร์เซ็นต์” โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ทำงานในฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) หรือฝ่ายบุคคล ที่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐาน ด้านการคำนวณเปอร์เซ็นต์ เพื่อใช้ในการคิดเงินเดือน โบนัส หรือการปรับค่าจ้างต่าง ๆ ให้แม่นยำ และถูกต้อง

ในบทความนี้ Cloud-TA ขอพาทุกคนไปทำความเข้าใจ “วิธีคิดเปอร์เซ็นต์” แบบเข้าใจง่าย สำหรับสายงาน Human Resource พร้อมยกตัวอย่างการใช้งานจริง ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย

วิธีคิดเปอร์เซ็นต์

เปอร์เซ็นต์ คืออะไร? พร้อมวิธีคิดเปอร์เซ็นต์ ที่ HR ต้องรู้!

เปอร์เซ็นต์ คือ การเปรียบเทียบค่าหนึ่งกับจำนวนเต็ม 100 หรือที่เรียกกันว่า “ร้อยละ” ซึ่งมักใช้แทนสัดส่วนของข้อมูลที่ต้องการวิเคราะห์ บางคนอาจมีพื้นฐานมาบ้างจากการใช้ในชีวิตประจำวัน แต่สำหรับสายอาชีพ Human Resource (HR) อาจต้องใช้วิธีคิดเปอร์เซ็นต์ที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น โดยมีตัวอย่างที่น่าสนใจ ดังนี้ 

  • การปรับเงินเดือน

พนักงานออฟฟิศ หรือแม้แต่ข้าราชการ หลายคนอาจคุ้นเคยกับการปรับเงินเดือนในรูปแบบเปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยทั่วไปจะคำนวณจากฐานเงินเดือนเดิม โดยใช้สูตรดังนี้ 

[(100 + เปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้น) x เงินเดือนเดิม)] ÷ 100 = เงินเดือนใหม่

ยกตัวอย่าง: นาย ก ได้รับเงินเดือนเดิมอยู่ที่ 20,000 บาท และได้รับการปรับฐานเงินเดือนเพิ่มขึ้นอีก 5% สามารถคำนวณได้ว่า [(100 + 5) x 2,000] ÷ 100 = 21,000 ดังนั้น นาย ก จะได้รับเงินเดือนใหม่เป็น 21,000 บาท เพิ่มขึ้นจากเดิม 1,000 บาท (21,000 – 20,000)

  • โบนัส

โบนัส เป็นผลตอบแทนพิเศษที่องค์กรมอบให้กับพนักงาน โดยมักคิดจากผลการดำเนินงานของบริษัท หรือผลงานของพนักงานในแต่ละปี การคิดโบนัสแบบเปอร์เซ็นต์สามารถคำนวณจากฐานเงินเดือน โดยใช้สูตร ดังนี้

เงินเดือน x อัตราโบนัส (%) = โบนัสที่ได้รับ

ยกตัวอย่าง: หากนาย ก ได้รับเงินเดือน 20,000 บาท และได้รับอัตราโบนัสอยู่ที่ 10% ของเงินเดือน สามารถคำนวณได้ว่า (20,000 x 10) ÷ 100 = 2,000 บาท แสดงว่าพนักงาน นาย ก จะได้รับโบนัสจำนวน 2,000 บาท

  • ค่าคอมมิชชัน

สำหรับค่าคอมมิชชัน เป็นรายได้ที่พนักงานขายได้รับ จากยอดขายที่ทำได้ โดยมักคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขายรวม สามารถใช้สูตรวิธีคิดเปอร์เซ็นต์ ดังนี้

(ยอดขาย x จำนวนเปอร์เซ็นต์คอมมิชชัน) ÷ 100 = เงินคอมมิชชันที่ได้รับ

ยกตัวอย่าง: นาย ก ขายสินค้าได้ยอดรวม 200,000 บาท โดยบริษัทได้กำหนดค่าคอมมิชชัน 3% สามารถคำนวณได้ว่า (200,000 x 3) ÷ 100 = 6,000 ดังนั้น นาย ก จะได้รับค่าคอมมิชชัน 6,000 บาท

  • การขาดงาน หรือลา

การคำนวณเปอร์เซ็นต์การขาดงานหรือการลา ได้ถูกนำมาใช้ประเมินการทำงานของพนักงาน โดยสามารถใช้สูตรดังต่อไปนี้ในการคำนวณ

(วันที่ลา ÷ วันที่ทำงานจริงในเดือนนั้น) x 100 = % การขาดงาน หรือลา

ยกตัวอย่าง: นาย ก ขาดงาน 2 วัน จากวันทำงานทั้งหมด 21 วัน สามารถคำนวณได้ว่า (2 ÷ 21) x 100 =  9.52% ซึ่งสามารถนำไปใช้ประกอบการประเมินผลพนักงาน เพื่อวางแผนพัฒนาหรือปรับปรุงด้านการบริหารงานบุคคล

  • การลาออกของพนักงาน

อัตราการลาออก (Turnover Rate) เป็นหนึ่งในดัชนีสำคัญที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ใช้ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม และบรรยากาศในการทำงานภายในองค์กร โดยตัวเลขนี้สะท้อนถึงความพึงพอใจในการทำงาน โดยสามารถคำนวณได้จากสูตรวิธีคิดเปอร์เซ็นต์ ต่อไปนี้

(จำนวนพนักงานที่ลาออก ÷ จำนวนพนักงานเฉลี่ยในช่วงเวลานั้น) × 100 = อัตราการลาออก (%)

ยกตัวอย่าง: ถ้าแผนกการผลิตมีพนักงานเฉลี่ยในช่วงเดือนเมษายน 2568 อยู่ที่ 70 คน และมีพนักงานลาออกทั้งหมด 20 คน จะสามารถคำนวณอัตราการลาออกได้ว่า (20 ÷ 70) × 100 = 28.57% โดยตัวเลขนี้สามารถนำไปใช้วิเคราะห์เพิ่มเติม เพื่อหาแนวทางในการรักษาบุคลากร

สำหรับบริษัท หรือโรงงานที่ต้องการตัวช่วย ในการเพิ่มความสะดวกให้กับพนักงานฝ่ายบุคคล ขอแนะนำ Cloud-TA ระบบบันทึกเวลาการทำงานแบบออนไลน์ ที่ช่วยให้การจัดการข้อมูลเวลาเข้า-ออก การลาหยุด และสถิติต่าง ๆ ของพนักงานเป็นเรื่องง่าย และแม่นยำมากยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับการนำไปวิเคราะห์ หรือประเมินผลในงาน HR

Human Resource

ข้อควรระวัง! วิธีคิดเปอร์เซ็นต์ อย่างไร ? ให้แม่นยำ

เนื่องจาก การทำงานของฝ่าย Human Resource (HR) ต้องรับผิดชอบการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก จึงมีโอกาสที่การคำนวณเปอร์เซ็นต์ อาจเกิดข้อผิดพลาดได้ หากไม่มีการตรวจสอบอย่างรอบคอบ ดังนั้น มาดู 4 ข้อควรระวังสำคัญ ที่จะช่วยให้ใช้วิธีคิดเปอร์เซ็นต์ได้อย่างถูกต้อง และแม่นยำมากขึ้น ดังต่อไปนี้

  1. การเก็บข้อมูลไม่ครบถ้วน

สิ่งสำคัญที่มักถูกมองข้าม คือการเลือกช่วงเวลา เช่น การใช้ค่าเฉลี่ยรายเดือนแทนรายปี หรือสลับกัน ซึ่งจะให้ผลลัพธ์ที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง ดังนั้น ต้องเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสม กับจุดประสงค์ของการคำนวณให้ชัดเจนก่อนเริ่มทำงานเสมอ

  1. หลีกเลี่ยงค่าเฉลี่ยรวม

การใช้ค่าเฉลี่ยจากจำนวนพนักงานทั้งหมด อาจทำให้มองไม่เห็นปัญหาเฉพาะจุด เช่น การลาของพนักงานบางแผนกที่สูงกว่าปกติ ควรแยกวิเคราะห์วิธีคิดเปอร์เซ็นต์เป็นรายแผนก หรือรายทีม เพื่อให้เห็นภาพที่แท้จริง และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น

  1. ตรวจสอบความสม่ำเสมอของหน่วย

หนึ่งในความผิดพลาดที่พบบ่อย คือ การนำหน่วยที่ต่างกัน มาคำนวณร่วมกัน เช่น เปอร์เซ็นต์จากจำนวนคน กับเปอร์เซ็นต์จากชั่วโมงการทำงาน หากไม่แปลงหน่วยให้เท่ากันก่อน จะทำให้ผลลัพธ์ที่ได้คลาดเคลื่อนทันที

  1. ตรวจสอบค่าผิดปกติ

ในบางกรณี การใช้เปอร์เซ็นต์วิเคราะห์ข้อมูล หากไม่กรองค่าที่ผิดปกติออกก่อน อาจทำให้ผลลัพธ์คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ตัวอย่างเช่น หากพนักงานบางคนลาหลายวันในเดือนเดียว ก็อาจดันค่าเฉลี่ยการลาของทั้งแผนกให้สูงเกินความเป็นจริง ซึ่งอาจนำไปสู่การประเมินที่ไม่แม่นยำ ดังนั้น ควรแยกกรณีพิเศษออกจากการคำนวณ เพื่อไม่ให้กระทบต่อภาพรวม

เป็นอย่างไรกันบ้าง กับเทคนิควิธีคิดเปอร์เซ็นต์ สำหรับผู้ที่เตรียมตัวเข้าสู่สายงาน HR หรือผู้ที่ต้องใช้การวิเคราะห์ข้อมูล หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจหลักการคิดเปอร์เซ็นต์ได้ง่ายขึ้น พร้อมทั้งข้อควรระวังต่าง ๆ ที่จะช่วยลดความผิดพลาด และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ด้านการคำนวณข้อมูลเชิงสถิติ ในองค์กรได้อย่างรอบคอบ

สุดท้ายนี้ หาก Human Resource หรือผู้ประกอบการ กำลังประสบปัญหาเรื่องการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ขอแนะนำ Cloud-TA ระบบบันทึกเวลาทำงาน แบบออนไลน์ยุคใหม่ที่ออกแบบมา เพื่อช่วยให้การจัดการเวลาการทำงานของพนักงานเป็นเรื่องง่าย สนใจสามารถติดต่อสอบถาม รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

Website: https://cloud-ta.com/

Email: cloud-ta@innova.co.th

Tel: 091-717-5499, 092-273-1760 (Sale)