การทำงานล่วงเวลา หรือการทำโอที เป็นสิ่งที่มนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่ต้องพบเจอ เพราะในบางวันอาจเคลียร์งานไม่ทันเวลา หรือจำเป็นต้องประชุมหลังเลิกงานกับทีมอื่น ๆ ดังนั้น ทางบริษัท และทีมงาน HR ต้องทำความเข้าใจ วิธีคิดโอที ของพนักงานแต่ละประเภท เพื่อจ่ายค่าตอบแทนให้ถูกต้องตามกฎหมาย และป้องกันไม่ให้เกิดการฟ้องร้องในภายหลัง
โดยในบทความนี้ Cloud-TA ได้รวบรวม วิธีคำนวณโอที ของพนักงานแต่ละประเภทอย่างละเอียด พร้อมกับแนะนำกฎหมายแรงงาน เกี่ยวกับการทำงานล่วงเวลาทั้งในวันธรรมดา วันหยุดประจำสัปดาห์ที่นายจ้าง และ HR ควรทำความเข้าใจให้ถี่ถ้วน จะมีอะไรที่น่าสนใจบ้าง เราไปดูกันได้เลย

วิธีคิดโอที รายวันและรายเดือน ตามกฎกระทรวงแรงงาน
OT หรือ Overtime คือ การที่เจ้าของกิจการ หรือบริษัทต้องทำการจ่ายผลตอบแทนให้แก่พนักงานที่มีการทำงานล่วงเวลา หรือพนักงานที่มีการทำงานเกินเวลาทำงานปกติ ทั้งในการทำงานหลังเลิกงาน หรือทำงานในวันหยุด
โดยในกฎหมายแรงงานได้มีการระบุว่า ทางบริษัทที่ต้องการให้พนักงานทำงานล่วงเวลา จะต้องได้รับความยินยอมจากพนักงาน และพนักงานต้องได้รับค่าโอทีเท่านั้น โดยมีวิธีการคิดโอทีทั้งสิ้น 3 รูปแบบใหญ่ ๆ ได้แก่
- การคำนวณโอทีพนักงานรายวัน
ในกรณีของพนักงานรายวัน หากมีการตกลงกันแล้วว่า จะมีการทำงานเกินกว่า 8 ชั่วโมง ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันทำงาน สำหรับการทำงาน 8 ชั่วโมง และต้องจ่ายค่าตอบแทนไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน ตามจำนวนชั่วโมงที่ทำเกิน หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่ง ของอัตราค่าจ้างต่อหน่วย โดยมีวิธีการคิดดังนี้
“ค่าล่วงเวลา = (ชั่วโมงทำงานปกติ ÷ ค่าจ้างรายวัน) x 1.5 x จำนวนชั่วโมงโอที”
ยกตัวอย่างเช่น พนักงานรายวันมีค่าจ้าง 400 บาทต่อวัน ทำโอที 3 ชั่วโมงในวันธรรมดา สามารถคำนวณได้ตามสูตร (400 ÷ 8) x 1.5 x 3 = 225 บาท ดังนั้น พนักงานจะได้รับค่าโอทีทั้งสิ้น 225 บาท สำหรับการทำงานล่วงเวลา 3 ชั่วโมงในวันธรรมดา
- การคำนวณโอทีพนักงานรายเดือน
หากนายจ้าง และลูกจ้างตกลงกันกำหนดเวลาทำงานปกติเกินกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างรายเดือนมีสิทธิได้รับค่าตอบแทน เป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน โดยมีวิธีการคำนวณดังต่อไปนี้
“ค่าล่วงเวลา = [(เงินเดือน ÷ 30) ÷ ชั่วโมงการทำงานปกติ] x 1.5 x จำนวนชั่วโมงโอที”
ยกตัวอย่างเช่น พนักงานรายเดือนมีเงินเดือน 15,000 บาท ทำโอทีจำนวน 3 ชั่วโมงในวันธรรมดา สามารถคำนวณได้ตามสูตร (15,000 ÷ 30 ÷ 8) x 1.5 x 3 = 281 บาท ดังนั้น พนักงานจะได้รับค่าโอทีทั้งสิ้น 281 บาท จากการทำงานล่วงเวลา 3 ชั่วโมงในวันธรรมดา
- การคำนวณโอทีพนักงานในวันหยุด
สำหรับการทำงานในวันหยุด ให้จ่ายค่าทำงานสำหรับการทำงาน 8 ชั่วโมง และจ่ายค่าตอบแทนไม่น้อยกว่า 1 เท่าของอัตราค่าจ้าง โดยมีวิธีการคำนวณใน 2 กรณี ได้แก่ กรณีที่ลูกจ้างได้รับวันหยุด และในกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้รับวันหยุด
- กรณีลูกจ้างได้รับวันหยุด
ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าแรงในวันหยุด เช่น พนักงานรายเดือน จะได้รับผลตอบแทนการทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 1 เท่าของค่าจ้างปกติ ซึ่งมีวิธีการคิดที่คล้ายกับการคำนวณโอที ในวันทำงานปกติ แต่จะต้องใช้ค่าอัตราค่าจ้างในวันหยุด
“ค่าล่วงเวลา = [(30÷เงินเดือน) ÷ ชั่วโมงทำงานปกติ] x 1 x จำนวนชั่วโมงโอที”
ยกตัวอย่างเช่น พนักงานรายเดือนที่มีเงินเดือน 15,000 บาท ทำงานในวันหยุด 8 ชั่วโมง จะได้รับค่าล่วงเวลาในวันหยุดที่ 1 เท่า สามารถคำนวณได้ตามสูตร (15,000 ÷ 30 ÷ 8) x 1 x 8 = 500 บาท ดังนั้น พนักงานจะได้รับค่าโอที 500 บาท สำหรับการทำงานในวันหยุด
- กรณีลูกจ้างไม่ได้รับวันหยุด
ในกรณีที่พนักงานรายวันไม่ได้รับวันหยุด และทำงานในวันหยุด พนักงานจะได้รับค่าโอทีไม่น้อยกว่า 2 เท่าของค่าจ้างปกติ โดยมีวิธีการคิดโอทีดังนี้
“ค่าล่วงเวลา = (ค่าจ้างรายวัน ÷ ชั่วโมงทำงานปกติ) x 2 x จำนวนชั่วโมงโอที”
ยกตัวอย่างเช่น พนักงานรายวันที่มีค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน ทำงาน 8 ชั่วโมงในวันหยุด จะได้รับค่าล่วงเวลา 2 เท่า สามารถคำนวณได้ตามสูตร (300 ÷ 8) x 2 x 8 = 600 บาท ดังนั้น พนักงานรายวันจะได้รับค่าโอทีจำนวนทั้งสิ้น 600 บาท สำหรับการทำงานในวันหยุด
ทั้งนี้ สำหรับบริษัท หรือโรงงานที่ต้องการตัวช่วย ในการบันทึกเวลาทำงานแบบเรียลไทม์ ขอแนะนำ “Cloud-TA ระบบบันทึกเวลาทำงานออนไลน์” Time Attendance ที่ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเขียนคำร้องใส่กระดาษให้เสียเวลา เพียงต่ออุปกรณ์อ่านบัตร และลายนิ้วมือกับ LAN หรือใช้สมาร์ตโฟนส่งคำร้อง และลงเวลางานได้แบบเรียลไทม์ ตอบโจทย์ยุคการทำงานแบบ Paperless อย่างแท้จริง

แชร์ กฎหมายแรงงานในการจ่ายโอที รู้ไว้ก่อนโดนลูกจ้างท้วง
ในปัจจุบันกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ได้มีข้อกำหนดสำคัญที่นายจ้าง และ HR ควรรู้ก่อนให้พนักงานทำโอที ซึ่งหากฝ่าฝืนนายจ้างจะมีความผิดทางกฎหมายในทันที โดยกฎหมายแรงงานในด้านการทำงานล่วงเวลา มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- การแจ้งล่วงหน้า
ตามกฎหมายแรงงาน หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ได้มีการระบุไว้ว่า หากต้องการให้พนักงานทำโอที นายจ้างต้องแจ้งพนักงานล่วงหน้า และต้องมีเวลาพัก 20 นาทีก่อนเริ่มทำงาน เพื่อให้ลูกจ้างมีเวลาเตรียมตัว คลายเครียด และหยุดพักผ่อนก่อนจะเริ่มทำงานต่อ
- ชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา
ทุกบริษัทต้องกำหนดเวลาการทำโอทีของพนักงาน ทั้งการทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด และทำงานล่วงเวลาในวันหยุด รวมกันไม่เกินสัปดาห์ละ 36 ชั่วโมง ตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด
- การทำงานในวันหยุด
ในกฎหมายแรงงานได้มีการระบุอย่างชัดเจนว่า ห้ามให้พนักงานทำงานในวันหยุด ยกเว้นในกรณีที่การหยุดงาน ส่งผลให้งานเกิดความเสียหาย หรือเป็นงานเร่งด่วน ทั้งนี้ ทางบริษัทต้องได้รับการยินยอมจากพนักงานก่อนเท่านั้น
นอกจากนี้ หากเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับโรงแรม งานขนส่ง ร้านอาหาร สถานพยาบาล และกิจการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต สามารถทำงานในวันหยุดได้ แต่ต้องได้รับการยินยอมจากพนักงานก่อนเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ก่อนให้พนักงานทำโอที นายจ้างต้องได้รับความยินยอมจากพนักงานก่อนเท่านั้น หากนายจ้างฝ่าฝืนด้วยการบังคับให้ทำโอที หรือไม่จ่ายเงินตามที่กฎหมายกำหนด จะมีความผิดทางกฎหมาย โดยโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

Cloud-TA ตัวช่วยคำนวณโอที และขอโอทีได้สะดวกยิ่งขึ้น
ในปัจจุบันองค์กรยุคใหม่ได้หันมาใช้ระบบเอกสารไร้กระดาษ หรือ Paperless กันมากขึ้น เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน และลดปัญหาการค้นหาเอกสารไม่เจอ โดยนิยมใช้ตั้งแต่การส่งเอกสารสำคัญให้กับแผนกอื่น ๆ ไปจนถึงเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น การเข้า-ออกงาน, การยื่นคำร้องลาป่วย ลากิจ และลาพักร้อน รวมถึงการขอทำ OT เป็นต้น
ซึ่ง Cloud-TA เป็นระบบบันทึกเวลาทำงาน Time Attendance แบบออนไลน์ โดยจัดเก็บข้อมูลอย่างปลอดภัยบนระบบคลาวด์ของไมโครซอฟต์ (Microsoft Azure) โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งเครื่องแม่ข่ายอีกต่อไป เพียงแค่ต่อเครื่องอ่านบัตร และลายนิ้วมือเข้ากับ LAN หรือ Wi-Fi หรือใช้สมาร์ตโฟนลงเวลานอกสถานที่ ตอบโจทย์การทำงานยุคใหม่ที่มีทั้งการทำงานแบบเข้าออฟฟิศ และการทำงานแบบ Work From Home
โดยระบบของ Cloud-TA Time Attendance สามารถดูข้อมูลเวลาทำงาน ส่งใบลากิจ ลาป่วย และลาพักร้อน รวมถึงการส่งคำร้องขอทำโอที ทำให้หัวหน้า หรือนายจ้างสามารถอนุมัติ หรือปฏิเสธคำขอต่าง ๆ ได้อย่างเรียลไทม์ ส่งผลให้ Work flow ขององค์กรลื่นไหลอย่างไม่มีสะดุด หากสนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Website: cloud-ta.com
Email: cloud-ta@innova.co.th
Tel: 091-717-5499, 092-273-1760 (Sale)
Line: @Cloud-TA